วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สระเกิน

สระเกิน


ความหมายสระเกิน
สระเกิน คือ๑)    รูป         ำ       มีเสียง             อะ+ม
๒)    รูป         ใ       มีเสียง             อะ+ย
๓)    รูป         ไ       มีเสียง             อะ+ย
๔)    รูป        เ-า      มีเสียง             อะ+ว
๕)    รูป        ฤ        มีเสียง             ร+อึ,  ร+อิ,  ร+เออ
๖)    รูป        ฤๅ       มีเสียง             ร+อือ
๗)    รูป        ฦ       มีเสียง             ล+อึ
๘)    รูป        ฦๅ      มีเสียง             ล+อือ
ตัวอย่างคำที่เกิดจากสระเกิน   ๑)    รูป         ำ       เช่นคำว่า   กำ   จำ   นำ  ฯลฯ
๒)    รูป         ใ       เช่นคำว่า   ใส  ใหญ่  หลงใหล  ฯลฯ
๓)    รูป         ไ       เช่นคำว่า   ไข   ไหว้   ไว  ฯลฯ
๔)    รูป        เ-า      เช่นคำว่า   เขลา   เก่า   เหา  ฯลฯ
๕)    รูป        ฤ        มีเสียง
ร+อึ   เช่นคำว่า  ฤทัย  คฤหาสน์   นฤมล   พฤกษา   มฤคทายวัน   หฤโหด
ร+อิ    เช่นคำว่า  กฤษฎา  ตฤณชาติ  ทฤษฎี  ศฤงคาร
ร+เออ   มีคำเดียว  คือ  ฤกษ์
๖)    รูป        ฤๅ       เช่นคำว่า   ฤๅษี
๗)    รูป        ฦ       -  (ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว  แต่ก่อนใช้คำว่า  ระฦก  >>  ระลึก)
๘)    รูป        ฦๅ      -  (ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว  แต่ก่อนใช้คำว่า  ฦๅชา  >>  ลือชา)
สระเกิน    เป็นรูปสระที่มีเสียงพยัญชนะร่วมอยู่ด้วย  (พยัญชนะที่ว่านี้เป็นได้ทั้งพยัญชนะที่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและพยัญชนะที่ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น  มีทั้งหมด ๘ เสียง ดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น