วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สุภาษิต สำนวนไทย


สุภาษิต สำนวนไทย

สุภาษิต หมายถึง คำพูดที่พูดออกมา ไม่ว่าจะเป็นทำนอง สำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอนและสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ คนไทยเรามักหยิบยกคำสุภาษิตมาเป็นตัวอย่างในการอบรมสั่งสอนลูกหลานหรือผู้ที่มีอายุน้อยกว่า หรือบางครั้งใช้แสดงเปรียบเทียบประกอบการสนทนา
 สุภาษิตไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. คำสุภาษิตประเภทที่พูด อ่านหรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย
2. คำสุภาษิตประเภทที่พูด อ่านหรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของความเหล่านั้น
 สำนวน หมายถึง โวหาร ทำนองพูด ถ้อยคำที่เรียบเรียง ถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่รับใข้เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมาเป็นข้อความพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่งๆ
สำนวนไทย มีความหมายโดยนัย เป็นลักษณะความหมายเชิงอุปมาเปรียบเทียบ ไม่แปลความหมายตามตัวอักษร จึงฟังแล้วมักจะไม่ได้ความหมายของตัวมันเอง ต้องนำไปประกอบกับบุคคล กับเรื่อง หรือเหตุการณ์จึงจะได้ความหมายเป็นคติเตือนใจ เช่นเดียวกับคำที่เป็นสุภาษิต
ความแตกต่างของสุภาษิตและสำนวน
 สุภาษิตจะไม่มีการเสียดสีหรือติชมอย่างคำพังเพย เป็นถ้อยคำที่แสดงหลักความเป็นจริง เป็นที่ยอมรับกันโดย ทั่วๆไป สุภาษิตนี้ยังมีความหมายรวมไปถึง สัจธรรม คำสั่งสอนที่เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ทางศาสนาด้วย เช่น ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น
   ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง



ความหมาย คนที่สวยงามเกิดขึ้นได้จากการแต่ง คนจะงามได้ก็ต้องแต่งตัวให้ดูดี
 งมเข็มในมหาสมุทร 




ความหมาย ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้ ทำกิจที่สำเร็จได้ยาก
ขวานผ่าซาก 


ความหมาย พูดตรงไปตรงมา
น้ำมาปลากินมด  น้ำลดมดกินปลา


 ความหมาย โอกาสของใครหรือจังหวะดีของใคร  ฝ่ายนั้นก็ย่อมชนะ
เห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง 

ความหมาย การแสดงความทะเยอทะยานใฝ่สูงเกินศักดิ์  อยากจะทำตัวตามอย่างผู้สูงศักดิ์กับเขาบ้าง.
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ 


ความหมาย คนที่ไม่ช่วยเขาทำงานแล้ว  ยังไปทำตัวให้เป็นที่กีดขวางเกะกะแก่งานของเขาอีกด้วย
จับปลาสองมือ 



ความหมาย คนที่มุ่งหวังอยากจะได้ทีเดียวพร้อม ๆ กันสองอย่าง  โดยไม่คำนึงว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำได้หรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น