วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หลักเกณฑ์การใช้อักษรย่อ

 หลักเกณฑ์การใช้อักษรย่อ

๑. ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์แรกของคำเป็นตัวย่อ
๑.๑ ถ้าเป็นคำคำเดียวให้ใช้ตัวย่อตัวเดียว แม้ว่าคำนั้นจะมีหลายพยางค์ก็ตาม

ตัวอย่าง

(๑) ๕ วา = ๕ ว. (๒) จังหวัด = จ. (๓) ๓.๐๐ นาฬิกา = ๓.๐๐ น. (๔) ศาสตราจารย์ = ศ.

๑.๒ ถ้าใช้ตัวย่อเพียงตัวเดียวแล้วทำให้เกิดความสับสน อาจใช้พยัญชนะต้นของคำถัดไปเป็นตัวย่อด้วยก็ได้

ตัวอย่าง 

(๑) ทหารบก = ทบ. (๒) ตำรวจ = ตร. (๓) อัยการ = อก.

๒. ถ้าเป็นคำสมาสให้ถือเป็นคำคำเดียว และใช้พยัญชนะต้นของพยางค์แรกเพียงตัวเดียว

ตัวอย่าง

(๑) มหาวิทยาลัย = ม. (๒) วิทยาลัย = ว.

๓. ถ้าเป็นคำประสม ใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำ

ตัวอย่าง

(๑) ชั่วโมง = ชม. (๒) โรงเรียน = รร.

๔. ถ้าคำประสมประกอบด้วยคำหลายคำ มีความยาวมาก อาจเลือกเฉพาะพยัญชนะต้นของคำที่เป็นใจความสำคัญ ทั้งนี้ไม่ควรเกิน ๔ ตัว

ตัวอย่าง 

(๑) คณะกรรมการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ = กปร.

(๒) สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ = สปช.

๕. ถ้าใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำแล้วทำให้เกิดความสับสน ให้ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไปแทน

ตัวอย่าง

(๑) พระราชกำหนด = พ.ร.ก.

(๒) พระราชกฤษฎีกา = พ.ร.ฎ.

๖. ถ้าพยางค์ที่มี ห เป็นอักษรนำ เช่น หญ หล ให้ใช้พยัญชนะตัวที่ออกเสียงเป็นตัวย่อ

ตัวอย่าง

(๑) สารวัตรใหญ่ = สวญ. (๒) ทางหลวง = ทล.

๗. คำที่พยัญชนะต้นเป็นอักษรควบกล้ำหรืออักษรนำ ให้ใช้อักษรตัวหน้าตัวเดียว

ตัวอย่าง

(๑) ประกาศนียบัตร = ป. (๒) ถนน = ถ. (๓) เปรียญ = ป.

๘. ตัวย่อไม่ควรใช้สระ ยกเว้นคำที่เคยใช้มาก่อนแล้ว

ตัวอย่าง (๑) เมษายน = เม.ย. (๒) มิถุนายน = มิ.ย.

(๓) เสนาธิการ = เสธ. (๔) โทรศัพท์ = โทร.

๙. ตัวย่อต้องมีจุดกำกับเสมอ ตัวย่อตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไปให้จุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว ยกเว้นตัวที่ใช้กันมาก่อนแล้ว

ตัวอย่าง 

(๑) ตำบล = ต. (๒) รองศาสตราจารย์ = รศ. (๓) พุทธศักราช = พ.ศ.

๑๐. ให้เว้นวรรคเล็กหน้าตัวย่อทุกแบบ

ตัวอย่าง 

(๑) ประวัติของ อ.พระนครศรีอยุธยา

(๒) มีข่าวจาก กทม.ว่า

๑๑. ให้เว้นวรรคระหว่างกลุ่มอักษรย่อ

ตัวอย่าง

(๑) ศ. นพ. (๒) รศ. ดร.

๑๒. การอ่านคำย่อ ต้องอ่านเต็ม

ตัวอย่าง 

(๑) ๐๕.๐๐ น. อ่านว่า ห้า-นา-ลิ-กา

(๒) อ.พระนครศรีอยุธยา อ่านว่า อำ-เพอ-พระ-นะ-คอน-สี-อะ-ยุด-ทะ-ยา

ยกเว้นกรณีที่คำเต็มนั้นยาวมากและคำย่อนั้นเป็นยอมรับกันทั่วไปแล้ว อาจอ่านตัวย่อเรียงตัวไปก็ได้

ตัวอย่าง ก.พ. อ่านว่า กอ-พอ 

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สุภาษิต สำนวนไทย


สุภาษิต สำนวนไทย

สุภาษิต หมายถึง คำพูดที่พูดออกมา ไม่ว่าจะเป็นทำนอง สำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอนและสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ คนไทยเรามักหยิบยกคำสุภาษิตมาเป็นตัวอย่างในการอบรมสั่งสอนลูกหลานหรือผู้ที่มีอายุน้อยกว่า หรือบางครั้งใช้แสดงเปรียบเทียบประกอบการสนทนา
 สุภาษิตไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. คำสุภาษิตประเภทที่พูด อ่านหรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย
2. คำสุภาษิตประเภทที่พูด อ่านหรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของความเหล่านั้น
 สำนวน หมายถึง โวหาร ทำนองพูด ถ้อยคำที่เรียบเรียง ถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่รับใข้เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมาเป็นข้อความพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่งๆ
สำนวนไทย มีความหมายโดยนัย เป็นลักษณะความหมายเชิงอุปมาเปรียบเทียบ ไม่แปลความหมายตามตัวอักษร จึงฟังแล้วมักจะไม่ได้ความหมายของตัวมันเอง ต้องนำไปประกอบกับบุคคล กับเรื่อง หรือเหตุการณ์จึงจะได้ความหมายเป็นคติเตือนใจ เช่นเดียวกับคำที่เป็นสุภาษิต
ความแตกต่างของสุภาษิตและสำนวน
 สุภาษิตจะไม่มีการเสียดสีหรือติชมอย่างคำพังเพย เป็นถ้อยคำที่แสดงหลักความเป็นจริง เป็นที่ยอมรับกันโดย ทั่วๆไป สุภาษิตนี้ยังมีความหมายรวมไปถึง สัจธรรม คำสั่งสอนที่เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ทางศาสนาด้วย เช่น ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น
   ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง



ความหมาย คนที่สวยงามเกิดขึ้นได้จากการแต่ง คนจะงามได้ก็ต้องแต่งตัวให้ดูดี
 งมเข็มในมหาสมุทร 




ความหมาย ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้ ทำกิจที่สำเร็จได้ยาก
ขวานผ่าซาก 


ความหมาย พูดตรงไปตรงมา
น้ำมาปลากินมด  น้ำลดมดกินปลา


 ความหมาย โอกาสของใครหรือจังหวะดีของใคร  ฝ่ายนั้นก็ย่อมชนะ
เห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง 

ความหมาย การแสดงความทะเยอทะยานใฝ่สูงเกินศักดิ์  อยากจะทำตัวตามอย่างผู้สูงศักดิ์กับเขาบ้าง.
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ 


ความหมาย คนที่ไม่ช่วยเขาทำงานแล้ว  ยังไปทำตัวให้เป็นที่กีดขวางเกะกะแก่งานของเขาอีกด้วย
จับปลาสองมือ 



ความหมาย คนที่มุ่งหวังอยากจะได้ทีเดียวพร้อม ๆ กันสองอย่าง  โดยไม่คำนึงว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำได้หรือไม่

เครื่องหมายวรรคตอน


                  เครื่องหมายวรรคตอน

1. ( . ) เรียกว่า มหัพภาค ใช้เขียนหลังอักษรย่อ เช่น
พ.ศ. ย่อจาก พุทธศักราช ค.ศ. ย่อจาก คริสศักราช
ด.ช. ย่อจาก เด็กชาย ด.ญ. ย่อจาก เด็กหญิง
รร. ย่อมาจาก โรงเรียน ร.ร. ย่อจาก โรงแรม

2. ( ) เรียกว่า นขลิขิต ใช้เขียนอธิบายข้อความเพิ่มเติม เช่น
ด.ช.อดิศัย โพธิ์ทอง (ประธานนักเรียนโรงเรียนวัดนาคนิมิตร)

3. ! เรียกว่า อัศเจรีย์ (เครื่องหมาย ตกใจ) ใช้เขียนหลังคำอุทานบอกอาการ เช่น โอ้แม่เจ้า!ไฟไหม้! โอ้มายก๊อด! ขโมยขึ้นบ้าน!

4. “ ” เรียกว่า อัญประกาศ ใช้เขียนคร่อมคำพูดที่ต้องการเน้น เช่น
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระบรมราชนิพนธ์ เรื่อง เงาะป่า
ที่จัดมาฉายเป็นภาพยนต์การ์ตูนที่โด่งดังทุกวันนี้

5. ______ เรียกว่า สัญประกาศ ใช้ขีดเส้นใต้ข้อความที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ เช่น
หมายเหตุ ควรล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าก่อนทาผลิตภัณฑ์นี้บนใบหน้า
ข้อควรระวัง ห้ามทาผลิตภัณฑ์นี้บนเนื้อเยื่อบอบบางบนใบหน้า อาจก่อให้เกิดกาแพ้ง่าย

6. ” เรียกว่า บุพสัญญา ใช้เขียนเพื่อละข้อความที่ซ้ำกัน เช่น
ในสวนบ้านฉันปลูกต้นมะม่วง 10 ต้น
ต้นละมุด 12 ”
ต้นส้ม 5 ”

7. = เรียกว่า เสมอภาค ใช้เขียนคั่นข้อความที่มีความหมายเท่ากัน
มักใช้ในทางคณิตศาสตร์ เช่น 5 + 5 = 10



8. - เรียกว่า ยัติภังค์ ใช้ขีดระหว่างคำที่ต้องการเขียนแยกพยางค์ให้
ห่างกัน เพื่อที่จะได้ทราบว่า มีความต่อเนื่องเป็นคำเดียว/ประโยคเดียวกัน เช่น
ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ปะ – วัต – ติ – สาด

9.  เรียกว่า ไปยาลน้อย ใช้เขียนท้ายคำเพื่อย่อคำให้สั้นลง เวลาอ่านต้องอ่าน คำเต็ม แต่ถ้าเขียนไว้ระหว่างตัวเลขจะเป็นการบอก วัน/เดือน ตามแบบจันทรคติ เช่น
โปรดเกล้า ฯ อ่านว่า โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
กรุงเทพ ฯ อ่านว่า กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุตยมหาดิลก ครบนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ (แต่ให้อ่านแค่ กรุงเทพมหานคร ตามการอ่านที่นิยมได้)
   อ่านว่า วันเสาร์ แรม ๙ค่ำ เดือนอ้าย(เดือนหนึ่ง)

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สระเกิน

สระเกิน


ความหมายสระเกิน
สระเกิน คือ๑)    รูป         ำ       มีเสียง             อะ+ม
๒)    รูป         ใ       มีเสียง             อะ+ย
๓)    รูป         ไ       มีเสียง             อะ+ย
๔)    รูป        เ-า      มีเสียง             อะ+ว
๕)    รูป        ฤ        มีเสียง             ร+อึ,  ร+อิ,  ร+เออ
๖)    รูป        ฤๅ       มีเสียง             ร+อือ
๗)    รูป        ฦ       มีเสียง             ล+อึ
๘)    รูป        ฦๅ      มีเสียง             ล+อือ
ตัวอย่างคำที่เกิดจากสระเกิน   ๑)    รูป         ำ       เช่นคำว่า   กำ   จำ   นำ  ฯลฯ
๒)    รูป         ใ       เช่นคำว่า   ใส  ใหญ่  หลงใหล  ฯลฯ
๓)    รูป         ไ       เช่นคำว่า   ไข   ไหว้   ไว  ฯลฯ
๔)    รูป        เ-า      เช่นคำว่า   เขลา   เก่า   เหา  ฯลฯ
๕)    รูป        ฤ        มีเสียง
ร+อึ   เช่นคำว่า  ฤทัย  คฤหาสน์   นฤมล   พฤกษา   มฤคทายวัน   หฤโหด
ร+อิ    เช่นคำว่า  กฤษฎา  ตฤณชาติ  ทฤษฎี  ศฤงคาร
ร+เออ   มีคำเดียว  คือ  ฤกษ์
๖)    รูป        ฤๅ       เช่นคำว่า   ฤๅษี
๗)    รูป        ฦ       -  (ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว  แต่ก่อนใช้คำว่า  ระฦก  >>  ระลึก)
๘)    รูป        ฦๅ      -  (ปัจจุบันไม่ใช้แล้ว  แต่ก่อนใช้คำว่า  ฦๅชา  >>  ลือชา)
สระเกิน    เป็นรูปสระที่มีเสียงพยัญชนะร่วมอยู่ด้วย  (พยัญชนะที่ว่านี้เป็นได้ทั้งพยัญชนะที่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและพยัญชนะที่ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น  มีทั้งหมด ๘ เสียง ดังนี้

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การอ่านออกเสียง ร ล

การอ่านออกเสียง ร ล

             การเพิ่มทักษะการอ่านออกเสียง ร ล คำควบกล้ำ
คำควบกล้ำ (อักษรควบ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์
และใช้สระเดียวกันเวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกันเสียงวรรณยุกต์ของ
พยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า 
คำควบกล้ำ (อักษรควบ) มี2ชนิด คือ คำควบแท้ และ ไม่แท้
คำควบแท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ล ว ควบกับพยัญชนะตัวหน้า ประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน เช่น 
พยัญชนะต้นควบกับ  ได้แก่ ครู เพราะ ครัว กรน ปรวนแปร ขรุขระ พระ ตรง ครั้ง กราบ โปรด ปรักปรำ ครื้นเครง เคร่งครัด ครอบ ปรอย กรอง 
คำควบไม่แท้
คำควบไม่แท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง ร ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าหรือมิฉะนั้นก็ออกเสียง เป็นเสียงอื่นไป

คำควบไม่แท้ที่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า ได้แก่พยัญชนะ จ ซ ศ ส ควบกับ ร เช่น จริง ไซร้ เศร้า ศรี ศรัทธา สร้าง เสริม สร้อย สระ สรง สร่าง

คำควบไม่แท้ ท ควบกับ ร แล้วออกเสียงกลายเป็น ซ ได้แก่ ทรง ทราบ ทราม ทราย แทรก ทรุด โทรม มัทรี
คำที่มี ร เป็นคำควบกล้ำ 
คำที่มี ร เป็นคำควบกล้ำ คำควบกล้ำคือ คำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อมกัน มี กร- ขร- คร- ตร- ปร- พร- เช่น
ข้อควรจำ  
1. คำควบกล้ำเวลาสะกดต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี ร รวมอยู่ในพยัญชนะต้น เช่น
กราบ สะกดว่า กร + อา + บ อ่านว่า กราบ
แปรง สะกดว่า ปร + แอ + ง อ่านว่า แปรง 

2. เมื่อมีพยัญชนะต้นสองตัวแล้วแต่ต้องไม่อ่านออกเสียง อะ กึ่งเสียงที่พยัญชนะต้น เช่น
                             กราบ สะกดว่า กร + อา + บ อ่านว่า กราบ
แปรง สะกดว่า ปร + แอ + ง อ่านว่า แปรง

3. ต้องไม่ใช่คำที่มี ห นำ เช่น
หรอก สะกดว่า หร + ออ + ก อ่านว่า หรอก
คำที่มี ล เป็นคำควบกล้ำ
พยัญชนะต้นควบกับ ล ได้แก่ เปล่า ปลีก คลาน คลุก เคล้า เปลี่ยนแปลง กลบ กลม เพลิดเพลิน เกลี้ยกล่อม เกลียวคลื่น คล่องแคล่ว เกล้า
คำควบกล้ำคือ คำที่อ่านออกเสียงพยัญชนะต้น ทั้งสองตัวหน้า เป็นเสียงกล้ำพร้อกัน มี กล- ขล- คล- ปล- พล-
ข้อควรจำ 
1. คำควบกล้ำเวลาสะกดต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี ล รวมอยู่ในพยัญชนะต้น เช่น
กลาง สะกดว่า กล + อา + ง อ่านว่า กลาง
แปลง สะกดว่า ปล + แอ + ง อ่านว่า แปลง
2. เมื่อมีพยัญชนะต้นสองตัวแล้วแต่ต้องไม่อ่านออกเสียง อะ กึ่งเสียงที่พยัญชนะต้นเช่น
ตลาด สะกดว่า ตล + อา + ด อ่านว่า ตะ - หลาด
ตลก สะกดว่า ตล + โอะ + ก อ่านว่า ตะ – หลก
3. ต้องไม่ใช่คำที่มี ห นำเช่น 
หลอก สะกดว่า หล + ออ + ก อ่านว่า หลอก
หลับ สะกดว่า หล + อะ + บ อ่านว่า หลับ

 แบบฝึกออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล  
           กรู                        กริ่ง                       เกรง                        กรุ                        โกรธ
          ขรัว                      ขรม                        ขรุ                           ขระ                       ขรึม
          เครา                      เคราะห์                 โครม                      ครึ้ม                       คราง
          ตรู่                          ตรอง                    ตรม                      แตร                        ตรี
        ปรุง                       แปรง                         โปรด                     เปราะ                     ปริ่ม
         พระ                      พรุ่ง                             พรม                      พราหมณ์               เพริศ
        เคร่ง                     แครง                            ครึ                         ครุ                          ครวญ
        ตรึม                     เตร่                               ตรอง                    ตรม                         ตราบ






                 แบบฝึกหัดออกเสียง ร ,  
นักเรียนชอบล้อเลียน                    พื้นโล่งเตียนเลี่ยนเรียบดี
ลีลาอย่ารอรี                            เราเริงรื่นลื่นล้มลง
พวกเราเล่าเรื่องราว                       ร้องเพลงลาวคราวชมดง
ไปไร่วิ่งไล่หลง                                    ร้องเรียกเพื่อนเลือนลอยหาย
ลมโชยโรยกลิ่นอวล                                  มาลีล้วนงามเรียงราย
รื่นรมย์ชมลวดลาย                           วิไลลักษณ์น่ารักจริง
ของรักใครลอบลัก                                     ลุกลนนักนะลูกลิง
เรือล่องร้องประวิง                                        เหล่านักเลงเร่งราวี
รักเร่เล่ห์ลมลวง                                       ดอกโรยร่วงปวงมาลี
ร่ำไรอาลัยมี                                           มาโลมเล้าเราร้อนรน
เรไรร้องจำเรียง                                     ลองไล่เลียงเสียงสับสน
รูปร่างช่างชอบกล                         คนเรียบเรียงเลี่ยงแล้วเอย

แบบฝึกออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล 
· ครูคำแปลงเป่าขลุ่ยได้ไพเราะเพราะพริ้ง ใครได้ฟังจะรู้สึกเพลิดเพลิน
· คุณยายแพรประพรมน้ำพระพุทธมนต์ก่อนกราบพระในเวลากลางคืน
· ภาคกลางของประเทศไทยมีพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชผักสวนครัว
· ผมเล่นกระดานโต้คลื่นทุกครั้งที่ครอบครัวของผมไปเที่ยวที่จังหวัดกระบี่
· อากาศแปรปรวนทำให้เกิดคลื่นลมในทะเลพัดกระหน่ำอย่างแรงกว่าปรกติ
· นายพรานขังกระต่ายสีขาวไว้ในกรงเหล็กหลังกระท่อมร้างกลางไพร
· พ่อค้าปลอมแปลงสินค้าเพื่อนำไปขายปลีกอย่างไม่เกรงกลัวใคร
· คนกลับกลอกไม่มีใครอยากคบถ้าไม่รู้จักปรับปรุงตนเอง
· คนขี้ขลาดจะไม่กล้าพูดความจริง จึงทำให้ทุกคนรู้สึกเกลียดชัง
· เสียงอึกทึกครึกโครมของกลุ่มวัยรุ่นก่อความรำคาญให้ผู้ที่อยู่ใกล้เคียง
แบบทดสอบอ่านออกเสียง ร ล 
รับรอง ร้าวราน โรคเรื้อน เล้าโลม ลาดเลา
ลิงโลด ซ่อนเร้น โล่งเตียน ล้วนหลายหลาก เล่าเรื่องราว
ขลุกขลัก ตรงกลาง กรีดกราด ปราดเปรียว โครมคราม
เคว้งคว้าง ปลูกพริก พลิกแพลง พริบพราย กรุบกรับ
กร่อนครบ คลอนคลาย ครบเครื่อง กระเดื่อง ตลาดตลก
ตริตรอง หลอนหลอก ราวบรรเลง คลื่นครวญ พริ้งพราว
เลือนละลาย ปรนเปรอ ปรักปรำ เปรียบเปรย ร้องไห้
รุงรัง เรือรบ ล้ำเลิศ ลิ้นลม ลึกลับ
ร่มรื่น ลุกลน รวดเร็ว เรียบเรียง ลวดลาย
เรือรบ วิ่งไล่ โล่งเตียน เริงรื่น โรยร่วง

แบบฝึกอ่านออกเสียงตัว ร
รุ่งเรื่องทำงานอย่างรวดเร็วและรอบคอบ
เรารักโรงเรียนเรามาก
อยากรุ่งเรืองต้องเร่งเรียนรู้
วันนี้ระเบียบมีเรื่องราวร้ายแรงเล่าให้เพื่อนฟัง
หน้าร้อนมีลมแรงเราควรร่วมกันระวัง

แบบฝึกอ่านออกเสียงตัว ล
ลิงลมปีนต้นลั่นทมสูงลิบลิ่ว
เขาชอบลอกเลียนลวดลายที่เพื่อนวาดไปแล้ว
ลีลาเป็นลูกลัดดาเป็นหลานละเอียด
ลำจวนชอบกินลองกอง ลางสาด ละมุด ลูกตาล
เขาละเลยหน้าที่เพราะชอบเล่นลิเกที่ลานวัด



แบบทดสอบที่ 1
เคราะห์            กวาด     ควาย         โครง         โปรดปราน      เกรี้ยวกราด       พรมเปรอะ    กลัว       ไพเราะ       กระต่าย      ครึกโครม         ตรึกตรอง     เกรง        โพรงขวาง พลั้งเผลอ          ขวัญใจ       ขรัว          เคร่งขรึม     ควันไฟ
แบบทดสอบที่ 2
รวดเร็ว            รังนก            ลังไม้            ลม         ร่ม           ร่าเริง              เลย             ลอกเลียน      ลวดลาย    เร่งรีบ      ละเอียด           รอบข้าง          ร้านค้า         ลอก       บ้านเรือน      เลื้อย              โรงเรียน         ระวัง           ล่อเลียน    ร่วมมือ
แบบทดสอบที่ 3
  • ครูคำแปลงเป่าขลุ่ยได้ไพเราะเพราะพริ้ง   ใครได้ฟังจะรู้สึกเพลิดเพลิน
  • คุณยายแพรประพรมน้ำพระพุทธมนต์ก่อนกราบพระในเวลากลางคืน 
  • ภาคกลางของประเทศไทยมีพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชผักสวนครัว 
  • ผมเล่นกระดานโต้คลื่นทุกครั้งที่ครอบครัวของผมไปเที่ยวที่จังหวัดกระบี่ 
  • อากาศแปรปรวนทำให้เกิดคลื่นลมในทะเลพัดกระหน่ำอย่างแรงกว่าปรกติ 
  • นายพรานขังกระต่ายสีขาวไว้ในกรงเหล็กหลังกระท่อมร้างกลางไพร 
  • พ่อค้าปลอมแปลงสินค้าเพื่อนำไปขายปลีกอย่างไม่เกรงกลัวใคร 
  • คนกลับกลอกไม่มีใครอยากคบถ้าไม่รู้จักปรับปรุงตนเอง 
  • คนขี้ขลาดจะไม่กล้าพูดความจริง จึงทำให้ทุกคนรู้สึกเกลียดชัง

ชุดที่ 4
คุณครูพริ้มเพราเดินอย่างเพลิดเพลิน
ช่างประปาเตรียมการปรับปรุงทางเดินน้ำพรุ่งนี้
เขาเป็นคนเคร่งขรึมใครๆจึงไม่กล้าเข้าใกล้
แม่ไกวเปลกล่อมน้องตอนโพล้เพล้
ยายปริกกราบพระพรหมตอนพลบค่ำ